ฝึกกันไปเรื่อยๆ กับภาคต่อๆ ไป
คราวนี้เราจะมาดู Relative Minor เมื่อเทียบกับ Major #5 Scale กันบ้างครับ ซึ่งถ้าเราเริ่มจากสเกล E ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตามบนเบส 4 สาย (จูน E-A-D-G) มันก็คือเริ่มจาก Root Position เสมอๆ เหมือนกับครั้งนี้ ที่เราจะลองเริ่มจาก E Harmonic Minor (ดังเช่น EX.1)
เราก็จะเห็นโครงสร้างคร่าวๆ ว่าช่องทางการดีดและวางมือในรูปแบบเริ่มต้นเป็นอย่างไร เราจะเห็นว่าโครงสร้างเริ่มต้นจะมี E-F#-G-A-B-C-D#-E เราอาจจดจำในรูปแบบของความห่างของเสียงก็ได้ คือ 1 เสียง – ½ เสียง – 1เสียง – 1เสียง – ½ เสียง – 1 ½ เสียง – ½ เสียง หรืออาจจะมองเป็นตัวเลขก็ได้คือ root1-2-b3-4-5-b6-7-root8 ก็ได้
ต่อไป ถ้าเรามาลองเทียบกับความเป็น Major Scale เราก็สามารถเทียบตัวโน้ตได้กับ G Major#5 Scale เราก็จะได้ดังนี้ G-A-B-C-D#-E-F#-G สังเกตว่าตัวโน้ตจะเหมือนกันกับ E Harmonic Minor Scale แค่เปลี่ยน Root เท่านั้นเอง ตัวเลขก็จะเปลี่ยนไปเป็น root1-2-3-4-#5-6-7-root8 (ตัวอย่างที่ 2)
เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว เราก็สามารถที่จะเล่น E Harmonic Minor ผนวกกับ G Major#5 Scale ได้ทั้ง 7 Position นั่นเอง อยู่ที่ว่าเราคิดอะไร เริ่มด้วยโน้ตในตำแหน่งที่เท่าไหร่ ซึ่งผมจะแยกให้ดูดังนี้ (ดูตัวอย่างที่ 3 ประกอบ)
ถ้าคิดว่าเรากำลังเล่น G Major#5 ให้เราคิดว่า Root Position จะอยู่ที่ห้องที่ 7 ถึง 9 (บางคนอาจสงสัยว่าทำไมให้เล่นแค่ 12 ตัวโน้ต ทำไมไม่เล่นให้ครบ 2 Octaves ก็เพราะว่าเราแค่จะมองตำแหน่งการวางมือในการเริ่มตัวโน้ตแต่ละตำแหน่งของสเกลเท่านั้น และให้รูปมือไม่ต้องเคลื่อนไปไหนมาก และข้อสำคัญคือเรายังไม่ได้คิดว่าเรากำลังเล่น Mode ต่างๆ เราแค่ต้องการรู้ว่าถ้าจะไล่ให้ได้ความต่อเนื่องเราควรจะไปทางใดได้บ้าง ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง)
สรุปง่ายๆ ว่า ถ้าเรากำลังคิดว่าเราจะเล่น G Major#5 ในตัวอย่างที่ 3 ชุดแรกที่เราเล่นมันก็คือ E-F#-G-A-B-C-D#-E-F#-G-A-B ซึ่งก็คือตำแหน่งที่ 6 ของสเกล (เพราะว่า E เป็นลำดับที่ 6 ถ้านับ G เป็น 1 ซ้อมทั้งเดินหน้าและถอยหลัง) ตามด้วย ตำแหน่งที่ 7 (ห้องที่ 4–6) F#-G-A-B-C-D#-E-F#-G-A-B-C ต่อมาเป็นตำแหน่งที่ 1 คือ Root Position (ห้องที่ 7–9) G-A-B-C-D#-E-F#-G-A-B-C-D# จากนั้นเป็นตำแหน่งที่ 2 (ห้องที่ 10-12) คือ A-B-C-D#-E-F#-G-A-B-C-D#-E ชุดต่อไปคือตำแหน่งที่ 3 (ห้องที่ 13 -15) B-C-D#-E-F#-G-A-B-C-D#-E-F# ตามด้วยตำแหน่งที่ 4 (ห้องที่ 16–18) C-D#-E-F#-G-A-B-C-D#-E-F#-G ต่อด้วยตำแหน่งที่ 5 (ห้องที่ 19 – 21) D#-E-F#-G-A-B-C-D#-E-F#-G-A เราก็จะได้ครบทั้ง 7 ตำแหน่งของ G Major #5 Scale
แล้วถ้าคิดเป็น E Harmonic Minor ทุกอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ห้องที่ 1–3 จะเป็นเรื่องของ Root Position ซึ่งก็คือ E นั่นเอง ส่วนห้องที่ 4 -6 ก็เป็นตำแหน่งที่ 2 ห้องที่ 7–9 ก็เป็นตำแหน่งของ b3 ห้องที่ 10–12 เป็นตำแหน่งที่ 4 ห้องที่ 13–15 เป็นตำแหน่งที่ 5 ห้องที่ 16-18 เป็นตำแหน่งของ b6 ห้องที่ 19–21 เป็นตำแหน่งของ 7
เราก็จะได้ฝึกทั้ง Major #5 และ Harmonic Minor ไปพร้อมๆ กัน ด้วยกฎข้อเดียวคือเล่นเส้นละ 3 ตัวโน้ตให้ครบ 4 เส้น แล้วถอยกลับ จากนั้นก็เลื่อนตำแหน่งต่อไป จะฝึกทั้งคอก็ใช้วิธีเดียวกันซ้ำๆ ไป อย่างน้อยเราก็รู้ว่าเรากำลังพยายามทำอะไรอยู่ก่อนที่จะต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ ครับ