สเกล
คือการรวมกันของกลุ่มโน้ต ตั้งแต่ 5 ตัวขึ้นไปเรียงตั้งแต่ระดับเสียงต่ำไปเสียงสูง เช่นจากโน้ต C ไปจบที่ C จาก A ไปจบที่ A เป็นต้น
ถ้าเราเขียนตัวตัวโน้ตสเกลในกระดาษโน้ต เราจะได้ตัวอักษรหรีอตัวโน้ตที่วนไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเย้อนมามองบนเฟร็ตบอร์ดของกีตาร์โดยมาตรฐานแล้วในกรณีของกีตาร์ไฟฟ้าจะมีเฟร็ตอย่างเต็มที่คือ 22-24 เฟร็ต ดังนั้นตัวโน้ตในสเกลมันจะต้องมีจุดสิ้นสุด (ในกรณีที่มี 22 เฟร็ต จะอยู่ที่โน้ตตัว D ถ้าเป็น 24 เฟร็ตจะเป็นโน้ตตัว E ในหากตั้งสายเป็นมาตรฐาน) สิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้เป็นสิ่งแรกบนเฟร็ตบอร์ดก็คือตัวโน้ตทั้งหมดซึ่งถ้าแยกออกมาจะได้ดังนี้
จากตัวอย่างเราจะเห็นได้ว่ามันมีตัวโน้ตมากมายเหลือเกิน มีงานวิจัยหนึ่งเคยบอกว่ามนุษย์เราตามธรรมชาติจะจำตัวเลขหรือตัวอักษรเต็มที่ได้ 7 ตัว แต่เท่าที่เห็นถ้าเราจำโน้ตบนเฟร็ตบอร์ดทั้งหมดจะต้องเป็นหนังเรื่องยาวแน่นอน ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดเราควรจะจำแนกเป็นหมวดหมู่ของ Scale
Scale นั้นมีหลักๆ 2 แบบ
- Chromatic Scale เป็นสเกลที่โน้ตทุกตัวมีระยะห่างครึ่งเสียงทุกตัว
- Diatonic Scale เป็นสเกลที่มีโน้ต 8 ตัวโดยตัวแรกและตัวสุดท้ายเป็นตัวเดียวกัน และมีระยะห่างทั้ง 1 เสียง และครึ่งเสียงในนั้น
ประเภทของ Scale ที่นิยมในการใช้งานส่วนใหญ่จะเป็น Diatonic Scale และที่ใช้กันเยอะๆก็คือ Major และ minor Scale โดยวันนี้เราจะมาดูกันที่หมวดของMajor Scaleกันก่อน ด้วยC Major Scale 1Octaveแบบขึ้นลง ด้วยตัวโน้ตในสายเดียว แล้วถัดไปด้วยตัวอย่างคร่าวๆจากKeyทางชาร์ปใน G และ E และต่อด้วยKey ทางแฟล็ตอย่าง F, Bb, Eb, Ab, Db กันครับ
Major Scale
ให้จำหลักการของ Major Scale ก่อน โดยจะมีสูตรคือ 1-2-3v45-6-7v8 Major Scale จะมีโน้ตทั้งหมด 8 ตัวเรียงจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ตัวแรกที่เริ่มจะเรียกว่าตัว Root และเรียงตามระดับเสียง (ซึ่งสามารถเขียนแทนด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษไปอีก 7 ตัว นับตัว Root ด้วย) และตัวที่ 8 จะเป็นตัว Root เหมือนเดิม แต่ระดับเสียงจะสูงกว่า ถ้าไล่ Scale บนคอกีตาร์จากตัวแรกจนครบที่ตัวโน้ตตัวเดิม เราจะเรียกว่า 1 Octave และถ้าไล่ไปอีกจนถึงโน้ตตัวเดิมในระดับเสียงที่สูงกว่าก็จะเป็น 2 Octave, 3 Octave ไปได้เรื่อยๆ (แต่กับเฟร็ตกีตาร์ทั่วไปน่าจะเล่นเต็มที่ได้ประมาณ 3 Octave) การไล่สเกลมี 2 แบบ คือจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง (Ascending) จากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำ (Descending) Scale Major นั้นจะมีหลักที่ต้องจำคือตัวที่ 3 และ 4 ห่างกันครึ่งเสียง ตัวที่ 7 กับ8 (หรือตัว Root ที่เสียงสูงขึ้น 1 Octave) ห่างกันครึ่งเสียง นอกนั้นห่างกัน 1 เสียง (เทียบกับเฟร็ตบอร์ดกีตาร์ ครึ่งเสียง = 1 ช่อง, 1 เสียง = 2ช่อง)
Major Scale ตัวแรกที่เราจะต้องรู้และใช้ในการเปรียบเทียบก็คือ C Major Scale ก็จะประกอบด้วย C D E F G A B C (ถ้าเป็นตัวโน้ตก็คือ C (Do) D (Re) E (Me) F (Fa) G (Sol) A (La) B (Te) C (Do)) ถ้าใช้สูตรของ Major Scale ในข้อ 1 เราจะเห็นว่าโน้ต E กับ F จะห่างกันครึ่งเสียงและ B กับ C ก็ห่างกันครึ่งเสียงเช่นเดียวกัน ถ้าเรามอง C Major Scale เป็นครอบครัวใหญ่โดยที่ Main หลักคือ C Major Scale มันจะมีลูกหลานออกมาอีกเป็น 2 ตระกูลใหญ่อันได้แก่ Major Scale ทางชาร์ป (#) และ Major Scale ทางแฟล็ต (b) ซึ่งวิธีการหา Scale Major ทั้ง 2 แบบทำได้ดังนี้
Major Scale ทางชาร์ป
วิธีที่ 1 ตั้ง C Major Scale คือ C D E F G A B C
วิธีที่ 2 ยกโน้ตตัวที่ 5 ลงมาตั้งใหม่เรียงตามตัวอักษร G A B C D E F G
วิธีที่ 3 จาก 2 เราจะเห็นได้ว่าตัวโน้ตลำดับที่ 3 กับ 4 ที่เราตั้งลงมาใหม่ห่างกัน ½ เสียงตรงตามสูตร Major Scale แต่ตัวที่ 7 กับ 8 จะห่างกัน 1 เสียง ดังนั้นเราจะต้องทำให้ห่างกันครึ่งเสียง โดยการใช้เครื่องหมายแปลงเสียง (#, b) ในกรณีนี้เราจะต้องใช้เครื่องหมาย # (ซึ่งทำให้เสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง) ใส่ลงไปที่โน้ตลำดับที่ 7 เราจะได้ดังนี้
G A B C D E F G จะกลายเป็น G A B C D E F# G
สิ่งที่เกิดขึ้นลำดับโน้ตถูกเรียงใหม่และมีเครื่องหมายแปลงเสียงเข้ามาด้วยหน้าตาก็จะต่างจาก C Major Scale ที่เป็นตัวตั้งต้นตัวแรกเราจะเรียก Scale ที่ได้ใหม่ว่า G Major Scale หรือ Key G Major ซึ่งมีโน้ตติดชาร์ป (#) อยู่ 1 ตัว (หรือเรียกว่า Scale 1 ชาร์ปก็ได้)
คราวนี้เราจะหาสเกลที่ตั้งจาก G Major Scale โดยใช้วิธีที่ 1 และ 2
จาก G A B C D E F# G
ยกตัวที่ 5 ลงมาจะได้ D E F# G A B C D
เติม # ตัวที่ 7 จะได้ D E F# G A B C# D = D Major Scale (2 ชาร์ป)
ถ้าเราแยก Scale ทางชาร์ปทั้งหมดออกมาก็จะได้ดังนี้
จาก C Major Scale = C D E F G A B C
1# G Major Scale = G A B C D E F# G
2# D Major Scale = D E F# G A B C# D
3# A Major Scale = A B C# D E F# G# A
4# E Major Scale = E F# G# A B C# D# E
5# B Major Scale = B C# D# E F# G# A# B
6# F# Major Scale = F# G# A# B C# D# E#* F#
7# C# Major Scale = C# D# E#* F# G# A# B#* C#
(* เรียกว่า Enharmonic เป็นโน้ตที่ซ้ำตำแหน่งกัน E# = F ในเฟร็ตบอร์ดกีตาร์ B# = C ในเฟร็ตบอร์ดกีตาร์)
ทีนี้เราจะมาฝึกการจำMajor ScaleในรูปแบบBox Scaleกัน ซึ่งตามแบบฝึกหัดจะเป็นการไล่ขึ้นลงแบบ1Octave โดยเริ่มจากKey C Major แล้วจึงขยับขึ้นไปเป็น G, D จนถึงKeyทางแฟล็ตอย่างเช่น F, Bb, Ebกันครับ
Major Scale ทางแฟล็ต
วิธีที่ 1 ตั้ง C Major Scale คือ C D E F G A B C
วิธีที่ 2 ยกโน้ตตัวที่ 4 ลงมาตั้งใหม่เรียงตามตัวอักษร F G A B C D E F
วิธีที่ 3 จาก 2 เราจะเห็นได้ว่าตัวโน้ตลำดับที่ 3 กับ 4 ที่เราตั้งลงมาใหม่ห่างกัน 1 เสียง ตัวที่ 7 กับ 8 จะห่างกัน ½ เสียงตรงตามสูตร Major Scale ดังนั้นเราจะต้องทำให้ห่างกันครึ่งเสียงโดยการใช้เครื่องหมายแปลงเสียง ซึ่งในกรณีนี้เราจะต้องใช้เครื่องหมายแฟล็ต (b) (ทำให้เสียงต่ำลงครึ่งเสียง) ใส่ลงไปที่โน้ตลำดับที่ 4 เราจะได้ดังนี้
F G A B C D E F จะกลายเป็น F G A Bb C D E F
สิ่งที่เกิดขึ้นลำดับโน้ตถูกเรียงใหม่และมีเครื่องหมายแปลงเสียงเข้ามาด้วย หน้าตาก็จะต่างจาก C Major Scale ที่เป็นตัวตั้งต้นตัวแรกเราจะเรียก Scale ที่ได้ใหม่ว่า F Major Scale หรือ Key F Major ซึ่งมีโน้ตติด b อยู่ 1 ตัว (หรือเรียกว่า Scale 1 แฟล็ตก็ได้)
คราวนี้เราจะหาสเกลที่ตั้งจาก F Major Scale โดยใช้วิธีที่ 1 และ 2
จาก F G A Bb C D E F
ยกตัวที่ 5 ลงมาจะได้ Bb C D E F G A Bb
เติม b ตัวที่ 4 จะได้ Bb C D Eb F G A Bb (2 แฟล็ต)
ถ้าเราแยก Scale ทางแฟล็ตทั้งหมดออกมาก็จะได้ดังนี้
จาก C Major Scale = C D E F G A B C
1b F Major Scale = F G A Bb C D E F
2b Bb Major Scale = Bb C D Eb F G A Bb
3b Eb Major Scale = Eb F G Ab Bb C D Eb
4b Ab Major Scale = Ab Bb C Db Eb F G Ab
5b Db Major Scale = Db Eb F Gb Ab Bb C Db
6b Gb Major Scale = Gb Ab Bb Cb* Db Eb F Gb
7b Cb Major Scale = Cb* Db Eb Fb* Gb Ab Bb Cb
(* เรียกว่า Enharmonic เป็นโน้ตที่ซ้ำตำแหน่งกัน Cb = B ในเฟร็ตบอร์ดกีตาร์ Fb = E ในเฟร็ตบอร์ดกีตาร์)